จาการไปสัมผัสวิถีชีวิตของแหล่งการเรียนรู้เครื่องปั้นดินนั้นทำให้ทราบว่าการที่เราจะผลิตเผาเครื่องปั้นดินเผาขึ้นมาสักชิ้นนึงนั้น ต้องใช้ความนุ่มนวล สมาธิ ความประณีตบรรจง ผ่านขั้นตอนวิธีการผลิตต่างๆ ให้ออกมาแต่ละชิ้นนั้น ใช้เวลาไม่นานหากเรามีความชำนาญ
ในการเข้าไปสัมภาษณ์ในแหล่งการเรียนรู้ชุมชนเครื่องปั้นดินเผานี้ จะมีป้าตุ้มผู้เป็นเจ้าของแหล่งการเรียนรู้ที่อนุญาติให้ถ่ายทำและรวบรวมข้อมูล และจะมีพี่ผู้ช่วยของป้าตุ่ม 3 คน เป็นผู้ดูแลนักท่องเที่ยว และคอยบรรยายถึงประวัติของสถานที่แห่งนี้ รวมทั้งคอยแนะนำชนิดของเครื่องปั้นต่างๆ ทั้ง หม้อ โอ่ง แจกัน ที่มีรวดลายอันวิจิตรงดงาม โดยจะมีการสาธิตการนั่งปั้นรูปทรงของดินเหนียวจากที่เป็นเพียงก่อนดินเหนียวกลม ให้ออกมาเป็นรูปทรง หม้อ โอ่ง อ่าง แก้ว ที่มีค่าสวยงาม โดยนักท่องเที่ยวก็สามารถที่จะสัมผัสถึงความรู้สึกของช่างปั้นได้ด้วยการ ทดลอง ปั้นด้วยตัวเอง จะมีค่าบริการ 50 บาทเท่านั้น ก็สามารถเปลี่ยนประสบการณ์ความรู้สึกการสัมผัสถึงความยากในการปั้นเครื่องปั้นดินเผาออกมาแต่ละชิ้นนั้นหากเราไม่มีความชำนาญเหมือน พี่ทนาธิปช่างปั้นดินเผาที่มีความชำนาญในการปั้นโดยเฉลี่ย สามารถปั้นได้ 200 ใบต่อวัน ไม่ว่าจะเป็นนักท่องเที่ยว จาก จีน หรือ อังกฤษ ต่างก็ให้ความสนใจกับการลองปั้นด้วยตัวเองทั้งนั้น
นอกจากนี้การที่เราได้ไปสัมผัสภูมิปัญญาท้องถิ่นของจังหวัดนนทบุรี ทำให้เราทราบถึงความเป็นมาของเครื่องปั้นดินเผาว่ามี ต้นกำเนิดอย่างไร จุดประสงค์ของการทำ วัตถุดิบที่ใช้ในการทำเครื่องปั้นดินเผา มีวิธีการทำ และการผลิตเป็นอย่างไร ลายละเอียดของเครื่องปั้นดินเผา การเตรียมการปั้นเครื่องปั้นดินเผา ลวดลายการตกแต่งต่างที่บ่งบอกถึงวิธีการทำการใส่ใจในการปั้นเครื่องดินเผาของแต่ละชิ้นที่ได้ทำขึ้นและเพื่อระลึกถึงการใช้เครื่องปั้นดินเผาของคนในสมัยก่อน ซึ่งได้มีความสำคัญมากจนมาถึงยุคปัจจุบัน

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น