กระบวนการผลิต





กระบวนการผลิต
 เครื่องปั้นดินเผามีวิธีทำอย่างไร

  การปั้นให้เป็นรูปต่าง ๆ ได้นั้น ต้องแล้วแต่ลักษณะของภาชนะหรือรูปของวัตถุประสงค์จะปั้น ประกอบกับความเหนียวของเนื้อดินปั้น ความเหนียวของเนื้อดินปั้นขึ้นอยู่กับการผสมเนื้อดินปั้นกับน้ำ ซึ่งมีส่วนต่าง ๆ กันและจำแนกออกเป็น 4 ชนิด คือ

1. ดินน้ำ สำหรับใช้หล่อกับปูนพลาสเตอร์ เนื้อดินปั้นชนิดนี้ผสมกับน้ำประมาณ ร้อยละ 24 - 30 เมื่อผสมแล้ว จะมีเนื้อเหลวเป็นน้ำข้น ๆ เวลาปั้นต้องใช้ปูนพลาสเตอร์เป็นแบบเหมาะสำหรับทำเครื่องปั้นชนิดที่มีเนื้อดินปั้นบาง ทำการปั้นด้วยวิธีอื่น ๆ ไม่ได้ เช่น แจกัน ถ้วยกาแฟ และเครื่องปั้นชนิดใหญ่ที่มีเนื้อดินปั้นหนามาก ๆ เช่น เครื่องสุขภัณฑ์ เป็นต้น

   2. ดินเหลว เป็นเนื้อดินปั้นที่ผสมกับน้ำประมาณ ร้อยละ 18 -24 เนื้อดินปั้นชนิดนี้เมื่อผสมกับน้ำแล้ว จะมีเนื้ออ่อนเหลวไม่เหนียวมากนัก เวลาปั้นจะต้องมีแบบทำด้วยไม้โลหะ หรือปูนพลาสเตอร์ เพื่อให้เนื้อดินปั้นอยู่ในที่อับตัวจะได้เกาะติดกัน เหมาะสำหรับเครื่องปั้นดินเผาจำนวนอิฐธรรมดา อิฐประดับ กระเบื้องมุงหลัง คาชาม จาน 

    3. ดินเหนียว เป็นเนื้อดินปั้นที่ผสมกับน้ำ ประมาณร้อยละ 14 -20 เนื้อดินปั้นชนิดนี้เมื่อผสมกับน้ำแล้วจะมีเนื้อเหนียวมาก ใช้ปั้นด้วยมือหรือด้วยแบบก็ได้ เหมาะสำหรับทำเครื่องปั้นจำพวกอิฐธรรมดา อิฐประดับ กระเบื้องปูพื้น อิฐกลวงท่อระบายน้ำ ฐทนไฟ  หม้อไห กระเบื้องฉนวนไฟฟ้า

     4. ดินชื้น ป็นเนื้อดินปั้นที่ผสมกับน้ำ ประมาณร้อยละ 6 -14 เนื้อดินปั้นชนิดนี้เมื่อผสมกับน้ำแล้วจะมีเนื้อร่วนชื้นเล็กน้อย เวลาปั้นต้องมีแบบทำด้วยโลหะและอัดให้เป็นรูปด้วยเครื่องจักร ใช้ปั้นด้วยมือหรือด้วยแบบก็ได้ เหมาะสำหรับทำเครื่องปั้นจำพวก กระเบื้องปูพื้น กระเบื้องปูฝา อิฐประดับ อิฐทนไฟ  กระเบื้องฉนวนไฟฟ้า 

การตากแห้ง
     การตากแห้งคือ การไล่น้ำออกจากของที่ขึ้นรูปเสร็จแล้ว การตากแห้งควรให้น้ำระเหยออกไปอย่างช้า ๆ เพื่อป้องกันการแตกร้าวปริมาณของน้ำที่ใช้ในการขึ้นรูปต้องเหมาะสม
การตากแห้งของที่มีขนาดแตกต่างกันทำได้ดังนี้
    1. ของใหญ่ ต้องปั้นในที่มิดชิด กันลมโกรกโดยมากโรงปั้นทำหลังคาเกือบถึงพื้นและมีฝาปิดมิดชิด ของที่ปั้นเสร็จแล้วจะต้องคลุมเพื่อมิให้ถูกลมมากเกินไปในระยะหนึ่ง แล้วจึงเอาสิ่งที่คลุมออกผึ่งไว้ในร่ม 3 - 7 วัน จึงเอาออกตากแดด หรือนำไปวางข้างเตาเผา
2. ของเล็ก ผึ่งในร่มชั่วระยะหนึ่งแล้วเอาออกตากแดด
     3. การตากในแสงแดดควรจะหมุนให้ถูกแดดทั่วกันทุกด้าน เพื่อกันการแตกร้าว บิดเบี้ยวของที่แตกแห้งสนิทแล้วจะทำให้ปริมาณการแตกสียหายจากการเผาดิบลดน้อยลง
    4. ของที่ตากแห้งในเตาอบไฟฟ้า ความร้อนครั้งแรกไม่เกิน 40๐ ซ. แล้วจึงค่อย ๆ เพิ่มอุณหภูมิอย่างช้า ๆ จนถึง 
110 องศา เพื่อให้แห้งสนิท

การออกแบบ
ความรู้พื้นฐานในการออกแบบ
1. ความรู้ในวัตถุประสงค์ของงานที่จะออกแบบ ตัวอย่าง เช่น
1.1 การออกแบบเครื่องปั้นดินเผา ซึ่งเป็นภาชนะ หม้อ ไห ถ้วยชาม
1.2 การออกแบบของใช้อื่น ๆ เช่น แผ่นกระเบื้อง กระเบื้องปูพื้น
กระเบื้องประดับผนัง เครื่องประดับอื่น ๆ สุขภัณฑ์
1.3 การออกแบบงานปฏิมากรรม เครื่องเคลือบ
การออกแบบจะต้องคำนึงถึงประโยชน์ใช้สอยตามแต่ละชนิดของของ
ที่จะออกแบบเพื่อให้ได้ลักษณะ ขนาด และมีความงามเหมาะสมจึงจะเป็นลักษณะของการออกแบบที่ดี
2. คุณค่าทางความงาม สุนทรียภาพ (Aesthetic) วิจิตรศิลป์ (Fine art) การออกแบบสร้างสรรค์งานศิลปะไม่ว่าแขนงใด จะต้องมีคุณค่าทางด้านความงาม ฉะนั้นเพื่อให้ได้คุณค่าด้านความงามอย่างสมบูรณ์ นักออกแบบที่ดีควรมีความรู้ในด้านความงาม

การเคลือบ
    เคลือบ คือชั้นของแก้วบางๆ ที่หลอมละลายติดอยู่กับผิวดินซึ่งขึ้นรูปเป็นภาชนะทรงต่างๆ วัตถุดิบที่เป็นน้ำยาเคลือบถูกบดจนละเอียดมากกว่าดินหลายเท่า ก่อนนำมาเคลือบบนดินเผา เป็นชั้นหนา 1-1.5 มม. เมื่อเคลือบแล้วต้องทิ้งให้ผลิตภัณฑ์แห้ง เช็ดก้นผลิตภัณฑ์ให้สะอาดก่อนเข้าเตาเผา ผลิตภัณฑ์ที่เคลือบแล้ว โดนเผาผ่านความร้อนอุณภูมิสูง วัตถุดิบที่เป็นแก้ว ในเคลือบเมื่อถึงจุดหลอมละลาย ชั้นของเคลือบจะกลายเป็นแก้วมันวาวติดอยู่กับผิวดิน
เคลือบช่วยให้การล้างภาชนะสะดวก เนื่องจากเคลือบมีสมบัติลื่นมือ สามารถทำความสะอาดง่ายกว่าผิวดินที่มีลักษณะค่อนข้างหยาบเคลือบมีคุณสมบัติเป็นแก้วไม่ดูดซึมน้ำ และยังเพิ่มความแข็งแรงทนทาน ทำให้ภาชนะดินเผาไม่บิ่นง่าย เมื่อกระทบกันบ่อยๆขณะล้างทำความสะอาด และสามารถใส่ของเหลวได้โดยไม่รั่วซึม

Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น