ข้อมูลผู้ให้สัมภาษณ์

ผลิตภัณฑ์ของ เกาะเกร็ด คือเครื่องปั้นดินเผาในอดีต เมื่อชาวมอญอพยพมาอยู่ที่เกาะเกร็ดแล้ว ก็ได้เริ่มทำเครื่องปั้นดินเผาเพื่อเป็นอาชีพ การทำเครื่องปั้นดินเผาที่เกาะเกร็ดในวันนี้ จึงสืบเนื่องกันมาแต่ครั้งกระโน้น

เครื่องปั้นดินเผา เกาะเกร็ด เป็นประเภทไม่เคลือบเนื้อดิน และส่วนใหญ่เป็นสีส้มอ่อนจนถึงสีแดง จุดเด่นคือการมีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น ได้แก่ การแกะสลักหรือฉลุลายอย่างวิจิตรบรรจง การปั้นรูปทรงและองค์ประกอบ ซึ่งแสดงถึงการสืบทอดศิลปะของชาวมอญแต่โบราณ


เอกลักษณ์เฉพาะถิ่นนี้เองที่เป็นความน่าสนใจ ทำให้ผู้ซื้อและนักท่องเที่ยวรู้สึกว่า เครื่องปั้นดินเผาเกาะเกร็ด มิใช่ของดาษดื่น แต่คือผลงานศิลปะ ซึ่งสืบทอดกันมาจากอดีตจนถึงปัจจุบัน และจะสืบทอดกันต่อไปในอนาคต



สถานที่สัมภาษ




แหล่งการเรียนรู้เครื่องปั้นดินเผา ตำบล เกาะเกร็ด

ศูนย์เรียนรู้ชุมชน หมู่ที่6 ตำบล เกาะเกร็ด อำเภอ ปากเกร็ด จ.นนทบุรี

วัน เวลา ที่ไปสัมภาษณ์ :: วันอาทิตย์ที่ 4 พฤษภาคม 2557




นางอรุณศรี ฤทธิ์เดช

(ปราชญ์ท้องถิ่น)

อายุ 64 ปี อาชีพ เจ้าของโรงงานเครื่องปั้นดินเผา

เป็นผู้ดูแลแหล่งการเรียนรู้เครื่องปั้นดินเผามากว่า10ปี

โดยได้รับการสืบทอดมาตั้งแต่รุ่นพ่อรุ่นแม่


     โดยป้าตุ้มให้การสัมภาษณ์ในลายละเอียดต่างๆว่า ::

ป้าตุม :: "ดินเหนียวที่ใช้ในการปั้นนั้นมาจากบ่อดินที่อยู่ในแหล่งการเรียนรู้นี้เป็นดินที่ดีและมีคุณภาพ"

"เตาเผาโบราณที่มีอายุกว่า100ปีก็เป็นของเราเอง"


1.ทำไมถึงประกอบอาชีพนี้?

ป้าตุม :: "การทำอาชีพนี้สืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่นโดยตัวป้าเองทำมา40กว่าปีแล้ว"

"โดยตัวป้าตุ่มเป็นรุ่นที่4 ที่สืบทอดภูมิปัญญานี้จากปู่ย่าตายาย"


2.รายได้ดีไหม?

ป้าตุม :: "รายได้มันก็ดี ไม่ได้ส่งนอกส่งแค่ภายในเกาะเกร็ด แต่ช่วงไหนที่เศรษฐกิจมันไม่ดีก็ไม่ดี"

3.ประโยชน์ของเครื่องปั้นดินเผา?

ป้าตุม :: "เป็นเครื่องประดับสวยงามชนิดต่างๆที่เอาไว้ใช้ในชีวิตประจำวันและเอาไว้จำหน่ายเป็นของขวัญที่ระลึกให้แก่นักท่องเที่ยว"

4.การแบ่งการทำงานปั้น?

ป้าตุม :: "ทำเพื่อใช้ในชีวิตประจำวันที่ทำขึ้นเองและทำไว้เพื่อจำหน่ายประเภทเครื่องใช้ประเภทสวยงามทำขึ้นพิเศษเพื่อให้บุคคลที่สำคัญ เป็นของฝากของที่ระลึก"








นายทนาธิป ไทรดี

อายุ 36 ปี อาชีพ ช่างปั้นเครื่องปั้นดินเผา


     โดยพี่ทนาธิปให้การสัมภาษณ์ในลายละเอียดต่างๆว่า ::

1.การปั้นนั้นยากไหม?

พี่ทนาธิป :: "ไม่ยากนะครับถ้าเราทำจนชิน ขึ้นอยู่กับน้ำหนักของมือเราในการขึ้นรูปร่างและสร้างสรรค์"
ในแต่ละวันมีนักท่องเที่ยวมารให้สอนปั้นเยอะไหม?

พี่ทนาธิป :: "เยอะครับยิ่งเสาร์อาทิตย์ส่วนใหญ่เป็นลูกทัวร์ บางทีก็มีชาวต่างชาติ"

2.การเตรียมการปั้น?

พี่ทนาธิป :: "เราต้องเลือกดินที่เหมาะสมประเภทเนื้อของเครื่องดินเหนียวไม่เคลือบมีความพรุนตัวมากดินที่ใช้ปั้นจะผสมแกลบลงไปในเนื้อดินและเผาด้วยไฟแรงสูงแะเครื่องปั้นขนาดเล็กจะแต่งเป็นลวดลายวิจิตร"

3.ระยะเวลาในการแกะสลักลวดลาย?

พี่ทนาธิป :: "แล้วแต่ขนาดและความยากง่ายแต่ละลวดลายใช้ระยะเวลาต่างกัน"

4.ใน 1 วัน สามารถปั้นได้กี่ใบ?

พี่ทนาธิป :: "โดยประมานปั่่นได้ 200 ใบต่อวัน"



:: ขอขอบคุณ ::


ป้าตุ่ม นางอรุณศรี ฤทธิ์เดช 


ที่เอื้อเฟื้อการให้สัมภาษณ์


และให้ข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องปั้นดินเผา




















Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น